วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

บทที่2 ลักษณะของนิทรรศการ


บทที่ 2
ลักษณะของนิทรรศการ


การจำแนกประเภทของนิทรรศการโดยพิจารณาจากขนาดวัตถุประสงค์
ระยะเวลาและสถานที่ที่ใช้ในการจัดทำให้ได้นิทรรศการหลากหลายประเภทได้แก่
การจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์นิทรรศการทั่วไปมหกรรมนิทรรศการเพื่อการศึกษา
นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์ นิทรรศการเพื่อการค้านิทรรศการถาวร
นิทรรศการชั่วคราวนิทรรศการเคลื่อนที่นิทรรศการในอาคารนิทรรศการกลางแจ้ง และนิทรรศการกึ่งในอาคารกึ่งกลางแจ้งซึ่งแต่ละประเภทมีรูปแบบและลักษณะดังนี้

การจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์
ลักษณะของการจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์ เป็นนิทรรศการขนาดเล็กสุดที่นำเสนอข้อมูลวัตถุ
สิ่งของ ผลงาน สินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางส่วนพอเป็นตัวอย่างโดยการออกแบบเป็นพิเศษ
ให้สะดุดตา เร้าใจ น่าสนใจ ทำให้ผู้ชมเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจและทัศน
คติที่ดีต่อเนื้อหาเรื่องราว



การจัดจุลนิทัศน์มีลักษณะสำคัญดังนี้

1.เป็นการจัดแสดงวัสดุสิ่งของในบริเวณพื้นที่ขนาดเล็กๆ
เนื้อหาเรื่องราวที่นำมาจัดแสดง
เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาทั้งหมด

2.วัสดุอุปกรณ์ประกอบ
ในการจัดจุลนิทัศน์ไม่ควรมีหลายชิ้นมากนัก
3.ตำแหน่งในการจัดจุลนิทัศน์อาจจัดในสถานที่ที่มีความเหมาะสม

4.
เนื้อหาหรือเรื่องราวที่นำมาจัดแสดงเป็นแนวคิดเดียวกัน
5.หากนำจุลนิทัศน์จากที่ต่าง ๆ จำนวนมากมาจัดรวมกันในสถานที่ใดที่หนึ่งให้ต่อเนื่องกัน


กล่าวถึงขบวนการส่งเสริมการขายด้วยการจัดแสดงสินค้าเพื่อชักนำลูกค้า
ไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้า โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.
ดึงดูดสายตาของผู้ที่เดินผ่านไปมา (attract attention) ด้วยการใช้รูปทรง
สีสัน การจัดแสง การเคลื่อนไหว อักษรที่แปลกใหม่สะดุดตา การใช้รูปแบบ
หรือสีสันที่ตัดกัน
(contrast)อย่างเหมาะสม
2.
เร้าความสนใจของผู้พบเห็น(arouseinterest)การจัดแสดงสินค้าที่ดี
ต้องมีจุดโฟกัส
(focus)เป็นจุดรวมความสนใจของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายโดยการนำสายตา
ด้วยแสง สีสัน การเคลื่อนไหวให้มุ่งตรงไปยังสินค้าที่มีคุณภาพ

3.
ก่อให้เกิดความปรารถนาที่จะเป็นเจ้าของ (stimulate desire)
สามารถทำได้ด้วยวิธีการสาธิตให้เห็นถึงวิธีใช้แสดงให้เห็นถึงคุณภาพและประโยชน
์ของสินค้า ชี้ให้เห็นถึงความความสัมพันธ์และความจำเป็นในการใช้สินค้ากับชีวิต
ประจำวัน

4.
โน้มน้าวให้เกิดความเชื่อมั่นในสินค้าและร้านค้า (conviction)
โดยการบอกเล่าความจริงเกี่ยวกับสินค้าแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงคุณสมบัติต่างๆ ในด้านความปลอดภัยและความประหยัดของทั้งสินค้าและร้านค้า
5.
กระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อ(causeaction)ถ้าผู้จัดแสดงสินค้าสามารถผลักดัน
ให้งานลุล่วงไปด้วยดีมาจนถึงขั้นนี้และสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้สำเร็จ
การขายจะเกิดตามมาโดยอัตโนมัติ ลูกค้าจะเดินเข้าร้านไปซื้อสินค้าเอง

6.
ทำให้เกิดความพึงพอใจหรือประทับใจ(satisfiedorimpression) การจัดแสดงสินค้าที่ดีและต่อเนื่องสม่ำเสมอย่อมทำให้ลูกค้าตลอดจนผู้ดูผู้ชม ผู้พบเห็นเกิดภาพประทับใจมีความพึงพอใจในศิลปะการตกแต่งแสดงสินค้านั้นๆ


นิทรรศการทั่วไป
ในสังคมไทยนิยมเรียกการจัดแสดงสิ่งของหรือเนื้อหาเชิงวิชาการต่าง ๆ ว่า นิทรรศการไม่ว่าการจัดแสดงสิ่งของนั้นจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เพียงใดเรามัก
เรียกรวม ๆ ว่านิทรรศการเสมอ แต่ในที่นี้คำว่า นิทรรศการ เป็นสื่อกิจกรรมขนาด
กลางที่องค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ
นิยมจัดเพื่อแสดงผลงานซึ่งพบเห็นกันโดยทั่วไป เป็นการจัดแสดงผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่มีบริเวณพื้นที่กว้างขวาง
ตั้งแต่การจัดในห้องเรียน บริเวณโรงเรียน ศูนย์การค้า ศาลาวัด ฯลฯ
นักออกแบบนิทรรศการ
ยังแบ่งนิทรรศการ ออกเป็น 4 ขนาดตามขนาด
พื้นที่ที่จัดแสดงคือ


1. นิทรรศการขนาดเล็ก (small exhibits) เป็นนิทรรศการที่จัดขนาดพื้น
ที่น้อยกว่า
400 ตารางฟุตหรือ 37 ตารางเมตร


2. นิทรรศการขนาดกลาง (medium exhibits) ใช้พื้นที่ตั้งแต
401 ตารางฟุต ถึง 1600 ตารางฟุตหรือ 38-148 ตารางเมตร


3. นิทรรศการขนาดใหญ่ (large exhibits) ใช้พื้นที่ตั้งแต่ 1601-4000
ตารางฟุต หรือ 149-371 ตารางเมตร


4. นิทรรศการขนาดยักษ์ (giant exhibits) ใช้พื้นที่ตั้งแต่ 4000 ตารางฟุต
หรือมากกว่า
371 ตารางเมตร


นอกจากข้อกำหนดทางด้านขนาดแล้ว นิทรรศการทั่วไปยังมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1. มักจัดขึ้นในโอกาสพิเศษต่าง ๆ มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
2. มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
3. ใช้วัสดุอุปกรณ์และเนื้อหากิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดฃ
แสดงร่วมกัน


4. ใช้เวลาจัดแสดงไม่ยาวนานอย่างพิพิธภัณฑ์ ไม่เคลื่อนที่ไปตามสถานที่ต่าง ๆ
อย่างรวดเร็วอย่างนิทรรศการเคลื่อนที่


มหกรรม


มหกรรม หรือนิทรรศการขนาดใหญ่มโหฬารระดับชาติหรือนานาชาติ
ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้


1. เป็นการจัดนิทรรศการที่ต้องใช้พื้นที่ที่มีอาณาบริเวณขนาดใหญ่มโหฬาร


2. การจัดงานมหกรรมนานาชาติแต่ละครั้งใช้งบประมาณเป็นจำนวนมหาศาล


3. เป็นการจัดแสดงเพื่อต้อนรับผู้ชมกลุ่มเป้าหมายจากทั่วทุกมุมโลก


4. การจัดมหกรรมนานาชาติต้องแสดงถึงความก้าวหน้าด้านวิทยาการสมัยใหม่


นิทรรศการเพื่อการศึกษา


นิทรรศการเพื่อการศึกษา เป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นเพื่อการถ่ายทอดความรู้และ
ประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้จากการ
แสดงเนื้อหาด้วยสื่อและกิจกรรมต่างๆ

นิทรรศการเพื่อการศึกษามีลักษณะที่สำคัญดังนี้


1.เป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้วยรูปแบบต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้ผู้ชมได้รับการศึกษาและการเรียนรู้เป็นประเด็นสำคัญ


2.ส่งเสริมให้ผู้ชมมีทัศนคติที่ดีทางการศึกษาโดยแสดงให้เห็นถึงบทบาท
ของการศึกษา
ที่ส่งผลถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและความเจริญ


3. เปิดโอกาสให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้มีทางเลือกในการเรียนรู้หรือการ
ศึกษาตามความสามารถและความถนัดของแต่ละบุคคล


4.นิทรรศการทางการศึกษาสามารถจัดได้ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน
บริเวณในโรงเรียน นอกโรงเรียน และสถานที่ทั่วไปในชุมชน


5.รูปแบบของนิทรรศการเพื่อการศึกษาอาจเป็นทั้งนิทรรศการชั่วคราว
นิทรรศการเคลื่อนที่หรือนิทรรศการถาวรเช่นพิพิธภัณฑสถานประจำจังหวัด
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์ในโรงเรียน เป็นต้น


6.หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆสามารถจัดนิทรรศการเพื่อการศึกษาได้เป็นอย่างดี
เช่น กรมไปรษณีย์โทรเลข พิพิธภัณฑ์สถานประจำจังหวัด กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น




นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์มีลักษณะที่สำคัญดังนี้คือ
1.
เป็นการรวบรวมหลักฐานข้อมูลข้อเท็จจริงหรือความคิดที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมด้วยสื่อต่างๆ ให้ผู้ชมได้เข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน
2.
เน้นการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริงขององค์กรหรือหน่วยงานสามารถ
อ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลได้แน่นอน

3.มุ่งแสดงคุณค่าที่น่าเชื่อถือศรัทธาในด้านความรู้ความสามารถ เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของ
หน่วยงานหรือองค์กรที่มีต่อสังคม

4.เป็นการจัดแสดงที่เหมาะสมกับกาลเวลาและโอกาส เหมาะกับเหตุการณ์หรือเทศกาลที่มีความ
สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับองค์กรหรือหน่วยงาน

5.รูปแบบการนำเสนอมีลักษณะแปลกใหม่สามารถกระตุ้นความสนใจและสื่อความหมายได้ดี
ใช้สื่อที่ประณีตเหมาะสมกับแต่ละองค์กรหรือหน่วยงาน

6.ส่งเสริมให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆเช่นการตอบแบบสอบถามการแข่งขันการตอบปัญหา
และการให้ข้อเสนอแนะ เป็นต้น


นิทรรศการเพื่อการค้า
นิทรรศการเพื่อการค้าเป็นการจัดแสดงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมการขายสินค้า

ผลิตภัณฑ์และการบริการให้ได้มากที่สุดตามเป้าหมายที่วางไว้


นิทรรศการเพื่อการค้ามีลักษณะที่สำคัญดังนี้


1. มีจุดมุ่งหมายเพื่อการขายสินค้าเป็นสำคัญ โดยเน้นที่การโฆษณา
ประชาสัมพันธ์
หากเป็นนิทรรศการขนาดใหญ่ของภาคเอกชนที่มีธุรกิจขนาดใหญ่
นิทรรศการเพื่อการค้ามีทั้งรูปแบบนิทรรศการถาวรการใช้สื่อโฆษณาและประชา
สัมพันธ์ในงานนิทรรศการเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของการดำเนินกิจกรรมประเภทนี้


นิทรรศการถาวร
นิทรรศการถาวรเป็นการนำเสนอข้อมูลและจัดแสดงที่ค่อนข้างสมบูรณ์
มีการจัดเป็นประจำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน


นิทรรศการถาวรมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ
2. การจัดนิทรรศการแบบนี้มีการลงทุนสูง
3. วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาจัดแสดงเป็นวัสดุที่คงทน
4. การออกแบบเพื่อการจัดแสดงสิ่งของจะทำอย่างรอบคอบพิถีพิถัน
5. สถานที่ที่ใช้ในการจัดแสดงนิทรรศการจะออกแบบไว้อย่างมีแบบแผนแน่นอน
6. หากเนื้อหาที่จัดแสดงเกี่ยวข้องกับความเชื่อหรือวิถีชีวิตของชุมชน
7. ส่วนใหญ่
นิทรรศการถาวรมักอยู่ในรูปของพิพิธภัณฑ์


นิทรรศการชั่วคราว
นิทรรศการชั่วคราวเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อแสดงเนื้อหาเรื่องใดเรื่อง
หนึ่งเป็นครั้งคราวตามโอกาสที่เหมาะสมอาจใช้เวลาประมาณ
2-10 วัน


นิทรรศการชั่วคราวมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1. เป็นการจัดแสดงระยะสั้น ๆ หรือเป็นครั้งคราว
2. เนื้อหาและกิจกรรมที่นำเสนอจะเป็นเรื่องราวใหม่ ๆ
3.สื่อที่ใช้ในการจัดแสดงนิทรรศการแบบชั่วคราวมีทั้งสื่อประเภทวัสดุ

นิทรรศการเคลื่อนที่

นิทรรศการเคลื่อนที่มีผลดีในการเข้าถึงพื้นที่ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย
ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้ชมมากเนื่องจากมีความสะดวกถ้าเป็นการให้บริการ
ด้านการศึกษา ส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการแต่อย่างใด


นิทรรศการเคลื่อนที่มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1.เป็นนิทรรศการที่ได้จัดเตรียมสื่อสำเร็จไว้เป็นชุด ๆ แต่ละชุดมีความสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ
ในตัวเอง
2.เนื้อหาที่เตรียมไว้มีหลายเรื่องเพื่อสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ชม
3.รูปแบบของนิทรรศการเคลื่อนที่ต้องอาศัยยานพาหนะ
4.สื่อที่ใช้ในนิทรรศการเคลื่อนที่มีจำนวนไม่มากนัก


นิทรรศการในอาคาร
นิทรรศการที่จัดอยู่ร่มภายในอาคารซึ่งอาจเป็นห้องประชุม ห้องโถง
ห้องเรียน เฉลียงหรือระเบียงในอาคาร


การจัดนิทรรศการในอาคารมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.
ดขึ้นภายในอาคารหรือพื้นที่ที่มีหลังคาป้องกันแสงแดดและฝนได้
2.
เนื้อหาของนิทรรศการเป็นเรื่องราวที่ไม่จำเป็นต้องใช้บริเวณกว้างขวางมากนัก
สามารถนำเสนอให้เบ็ดเสร็จภายในอาคารได้

3.
เป็นเนื้อหาที่ต้องการความต่อเนื่องปราศจากสิ่งรบกวนในการชมที่จัดแสดง ไม่ต้องการบรรยากาศธรรมชาติจากภายนอกเป็นองค์ประกอบสำคัญ
4.
จัดในอาคารที่มีห้องและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยได้อย่างแข็งแรง
โดยเฉพาะการจัดแสดงสิ่งของที่มีมูลค่าสูง

5.
มีการควบคุมบรรยากาศด้วยแสงโดยเฉพาะเนื้อหาที่ต้องการสร้างอารมณ์และ
ความรู้สึกของผู้ชมด้วยการเน้นการควบคุมแสงในจุดสำคัญ

6.
การเลือกใช้วัสดุ สามารถใช้วัสดุได้ทุกประเภททั้งชนิดถาวรและไม่ถาวร
เช่น ไม้ หิน โลหะ กระดาษ สีน้ำ สีโปสเตอร์ เป็นต้น

7.
การออกแบบการจัดนิทรรศการภายในอาคารสามารถสร้างสรรค์ด้วยจินตนา
การที่สอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างอิสระเพราะสามารถควบคุมบรรยากาศได


นิทรรศการกลางแจ้ง
นิทรรศการกลางแจ้งเป็นนิทรรศการที่ต้องการพื้นที่ บริเวณกว้างขวาง
โล่งแจ้ง
มีผู้ชมจำนวนมาก


การจัดนิทรรศการกลางแจ้งมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.
จัดแสดงสื่อสิ่งของหรือกิจกรรมบริเวณภายนอกอาคาร
2.
จัดได้ทั้งแบบถาวรและแบบชั่วคราว
3.
เนื้อหาที่นำเสนอมีความสัมพันธ์กับพื้นที่จัดแสดงซึ่งอาจมีบริเวณกว้าง
ขวางเป็นธรรมชาติ


นิทรรศการกึ่งกลางแจ้ง
นิทรรศการกึ่งกลางแจ้งเป็นการแสดงวัสดุหรืออุปกรณ์
ทั้งในอาคาร
และกลางแจ้งในเวลาเดียวกัน


นิทรรศการกึ่งกลางแจ้งมีลักษณะสำคัญดังนี้
ี้
1. เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงบางส่วนอยู่ในอาคารและบางส่วนอยู่บริเวณกลางแจ้ง
2.
อาจจัดเป็นแบบถาวรหรือแบบชั่วคราวก็ได้
3.
เนื้อหาที่อยู่นอกอาคารมักมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติแวดล้อมซึ่งอาจ
เป็นหุ่นจำลองหรือของจริงก็ได้

4.
สื่อที่จัดแสดงด้านนอกอาคารมีขนาดใหญ่
5. สามารถออกแบบให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดนิทรรศการ
ประเภทต่าง ๆ



ไม่มีความคิดเห็น: