วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

เนื้อหาวิชาการจัดนิทรรศการ (Display)




บทที่ 1
บทนำเกี่ยวกับการจัดแสดงและนิทรรศการ


ปัจจุบันการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เพื่อให้เกิดความรู้
และความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์มีหลายวิธีและหลายรูปแบบแตกต่างกัน วิธีดำเนินการมีทั้งทางตรงและทางอ้อมการจัดแสดงและนิทรรศการเป็นสื่อ
ประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการเผยแพร่ความรู้ ทัศนคติ ประสบการณ์ และการ
ประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลทั้งในวงการการศึกษา การเมือง
ธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน
ความหมายของการจัดแสดง


ในวงการการศึกษามีผู้ให้ความหมายและอธิบายคำว่าการจัดแสดง (display)
ไว้หลายทรรศนะดังนี้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ
.. 2542 อธิบายคำว่า จุลนิทัศน์
ว่ามาจากคำว่า จุล กับ นิทัศน์

จุล
(.) เล็ก น้อย ใช้นำหน้าคำสมาส
นิทัศน์
(.)ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นอุทาหรณ์คำว่าอุทาหรณ์หมายถึง ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาอ้างให้เห็นสิ่งหรือเรื่องที่ยกขึ้นมาเทียบเคียงเป็นตัวอย่าง
สรุปได้ว่า จุลนิทัศน์ หรือการจัดแสดง หมายถึง สิ่งหรือเรื่องที่ยกมาแสดงเพียงเล็กน้อย
พอให้เห็นเป็นตัวอย่าง

คำว่า
“display” แปลว่า การจัดแสดง

สรุปได้ว่าการจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์ หมายถึง นิทรรศการ
ขนาดเล็กมากที่นำเสนอข้อมูล
วัตถุสิ่งของผลงานสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางส่วนพอเป็นตัวอย่าง
ในสถานที่ที่มีการตกแต่งไว้
อย่างสวยงามและเหมาะสมโดยเน้นเป็นพิเศษเพื่อเร้าใจให้ผู้ชม
เปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้


ความหมายของนิทรรศการ
นิทรรศการ เป็นการรวบรวมสิ่งของและวัสดุเป็นชุด ๆ เพื่อขมวดความคิดตา
วัตถุประสงค์ทางการศึกษาหากเป็นกิจกรรมด้านการค้าการจัดนิทรรศการเป็นการแสดง
ผลงานสินค้า ผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมให้คนทั่วไปชม
สรุปได้ว่า นิทรรศการ หมายถึงการจัดแสดงข้อมูลเนื้อหาผลงานต่าง ๆ ด้วยวัสดุ สิ่งของ อุปกรณ์และกิจกรรมที่หลากหลายแต่มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่องโดยมีจุดมุ่งหมายที่
ชัดเจน มีการวางแผนและออกแบบที่เร้าความสนใจให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการดูการฟัง
การสังเกต การจับต้องและการทดลองด้วยสื่อที่หลากหลาย


ประวัติของการจัดแสดง



ส่วนสำคัญของประวัติการจัดแสดงที่ควรกล่าวถึงได้แก่ ที่มาของความคิด
ในการจัดแสดงและการจัดแสดงเพื่อการศึกษาในประเทศไทย
1. ที่มาของความคิดในการจัดแสดง
ยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์เริ่มรู้จักออกแบบตกแต่งที่อยู่อาศัยภายในถ้ำ
รู้จักแบ่งพื้นที่ใ
นการใช้สอยอย่างหยาบ ๆ คร่าว ๆ
2. การจัดแสดงเพื่อการศึกษาในประเทศไทย
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยพบว่าสมัยกรุงสุโขทัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรง
คิดประดิษฐ์อักษรไทยไว้บนหลักศิลาจารึกซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมบรรจุตัวอักษรไว้ทั้ง
4 ด้านพระราชวรมุนี


ประวัติของนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษยชาติ แต่ในยุคแรกเริ่ม
อาจจะยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนแน่นอน ในยุคก่อนประวัติศาสตร์คงไม่มีชื่อเรียกว่า
นิทรรศการ หรือ
exhibition, fair, expo แต่อย่างใด อาจเป็นเพียงการจัดวางสิ่งของ
เครื่องใช้ไว้ในที่ที่เคยวางเป็นประจำ การวาดภาพตามผนังถ้ำเพื่อถ่ายทอดความเชื่อ การนำสินค้ามาจัดแสดงเพื่อการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย ดังนั้นการนำเสนอประวัติของนิทรรศการจึงประกอบด้วยรายละเอียดตั้งแต่จุดเริ่มต้นของ
การจัดนิทรรศการจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งภาพแสดงประวัติของนิทรรศการ ดังต่อไปนี้


1. จุดเริ่มต้นของการจัดนิทรรศการ


2. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในยุคโบราณ


3. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในยุคกลางและยุคหลัง


4. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศอังกฤษ


5. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศรัสเซีย


6. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศเยอรมันการจัดเทศกาลแสดงสินค้า
ทางการเกษตรในประเทศอเมริกา


7. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าสมัยใหม่


8. การจัดนิทรรศการในประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า นิทรรศการ
ในประเทศไทยโดยเฉพาะทางด้านการศึกษา เริ่มจัดขึ้นในวัดและในวัง


9. ภาพแสดงประวัติของนิทรรศการ


ความสำคัญของนิทรรศการ


นิทรรศการเป็นสื่อที่มีคุณค่าและมีศักยภาพสูงในการดึงดูดความสนใจของผู้ชม
ได้ดี
เนื่องจากความหลากหลายของสื่อสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่าง
บุคคลของผู้ชมได้
กล่าวถึงความสำคัญของนิทรรศการไว้ว่าเป็นวิธีการอันทรงประสิทธิ
ิภาพ
ในการกระตุ้นให้ผู้คนสนใจในวัตถุและแนวความคิดอ่านเป็นวิธีที่มักเข้าถึง
ประชาชนได้เมื่อวิธีการอย่างอื่นไม่สามารถทำได้ทั้งนี้เพราะเสน่ห์อันเกิดจาก
ผลงานการรวบรวมสรรพสิ่งทั้งหลาย
การคัดเลือกและการจัดแสดงที่ดีเป็นแม
่เหล็กอันใหญ่ที่ดึงดูดให้คนเหล่านั้นเข้ามาหาได้อย่างง่ายดาย”






วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งผู้จัดอาจมีวัตถุประสงค์เฉพาะแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปการจัดนิทรรศการทุกประเภทมีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันดังนี้


1. เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ไปยังผู้ชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ชมทั่วไปด้วยการจัดแสดงสื่อหลาย ๆ ชนิด


2. เพื่อสร้างความประทับใจ ให้ผู้ชมเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ในบทบาทและหน้าที่ขององค์กรหรือหน่วยงานที่จัดแสดงนิทรรศการ


3. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนแปลงทัศนคติไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร และให้ความร่วมมือในการดำเนินงานในโอกาสต่อไป


4. เพื่อการประชาสัมพันธ์หรือสร้างภาพพจน์ที่ดีของบุคลากร องค์กร หรือหน่วยงาน โดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่ชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย


5. เพื่อสร้างความบันเทิง ให้ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้กับสื่อต่าง ๆ ด้วยความเพลิดเพลิน บางกิจกรรมอาจได้ลงมือสัมผัสและทดลองด้วยตัวเอง


6. เพื่อเป็นการประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานโดยรวมของหน่วยงานหรือ องค์กรที่เป็นเจ้าของนิทรรศการแต่ละครั้ง


คุณค่าของนิทรรศการ


นิทรรศการเป็นสื่อที่มีคุณค่าหลายประการดังนี้


1.เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ความคิดและข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจาย
จากหลายที่มารวมเข้าด้วยกันอย่างมีระบบและสวยงามเพื่อจัดแสดงและนำเสนอใน
เวลาเดียวกัน ทำให้ผู้ชมสะดวกและประหยัดเวลา


2. เป็นแหล่งถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้โดยอาศัยสื่อต่าง ๆ
ทั้งสื่อรูปภาพ
แสง เสียง ภาพวิดีทัศน์ หุ่นจำลอง ของจริง เกม การแสดง เป็นต้น ซึ่งทำ
ให้เข้าใจง่ายขึ้น


3.เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพโดยเปิดโอกาสให้ผู้ชม
มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ผู้ชมได้รับความรู้และความเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน
ซึ่งจะนำไปสู่การค้นหาความรู้จากแหล่งอื่น ๆ ต่อไป


4.การใช้สื่อหลายชนิดในการจัดแสดงนิทรรศการจะช่วยตอบสนองความ
แตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ชมแต่ละคนมีความถนัดในการรับรู้และ
เรียนรู้ต่างกัน


5.เป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะการร่วมมือกัน
ระหว่างหน่วยงานต่างๆนับตั้งแต่ขั้นการเสนอความคิดการวางแผนการดำเนินงานหรือปฏิบัติหน้า
ที่ตามที่ได้รับมอบหมาย การสรุปและประเมินผล


คุณสมบัติของผู้จัดนิทรรศการ
จากการประมวลข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้จัดนิทรรศการ
รวมกับประสบการณ์ในการจัดนิทรรศการพอสรุปได้ว่าคุณสมบัติที่สำคัญของผู้
จัดนิทรรศการ ควรมีดังนี้


1.มีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาหรือการทำความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์
ความแตกต่างระหว่างบุคคลการรับรู้การเรียนรู้ความต้องการความถนัดและความสนใจของบุคคล
ในวัยต่าง ๆ
และรู้วิธีการตอบสนองอย่างมีหลักเกณฑ์


2.มีประสบการณ์และความรู้ความสามารถในวิทยาการแขนงต่างๆเช่น
ศิลปะสถาปัตยกรรม งานช่าง งานออกแบบและผลิตสื่อตามวัตถุประสงค์ของนิทรรศการ
เช่น การศึกษา การค้า และเป็นผู้ที่ช่างสังเกต มีความรู้รอบตัว ศึกษาค้นคว้าหาสิ่งใหม่ ๆ
ทันสมัยอยู่เสมอ


3.มีความคิดสร้างสรรค์รู้จักดัดแปลงและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้เหมาะสม
กับเวลาและสถานการณ์ มีความแปลกใหม่น่าสนใจ


4. มีแผนงานและการทำงานอย่างเป็นระบบ มีความรับผิดชอบ ใจกว้าง รับฟังความ


5. มีแรงจูงใจ มีความมุมานะ มีความสุขที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ


ประเภทของนิทรรศการ


นิทรรศการที่เห็นอยู่ทั่วไปมีหลายประเภทแต่ละประเภทมีรูปแบบและกิจกรรมแตก
ต่างกัน
ดังนั้นการจำแนกประเภทของนิทรรศการจึงขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ เช่น

1. จำแนกตามขนาดของนิทรรศการ ได้แก่
1.1 การจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์
มีแผนงาน ทำงานอย่างเป็นระบบ มีความรับผิดชอบทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
และมีแรงจูงใจที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ
นิทรรศการมีหลายประเภท สามารถจำแนกได้ตามขนาด วัตถุประสงค์
ระยะเวลาและสถานที่ที่ใช้ในการจัด


3.1 นิทรรศการทั่วไป


3.2 มหกรรม


2. จำแนกตามวัตถุประสงค์ในการจัด ได้แก่


2.1 นิทรรศการเพื่อการศึกษา


2.2 นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์


2.3 นิทรรศการเพื่อการค้า


3. จำแนกตามระยะเวลาในการจัด ได้แก่


3.1 นิทรรศการถาวร


3.2 นิทรรศการชั่วคราว


3.3 นิทรรศการเคลื่อนที่


4. จำแนกตามสถานที่ที่ใช้ในการจัด ได้แก่


4.1 นิทรรศการในอาคาร


4.2 นิทรรศการกลางแจ้ง


4.3 นิทรรศการกึ่งในอาคารกึ่งกลางแจ้ง


ส่วนรูปแบบและกิจกรรมของนิทรรศการแต่ละประเภท จะนำเสนอรายละเอียดในบทต่อไป







บทที่2 ลักษณะของนิทรรศการ


บทที่ 2
ลักษณะของนิทรรศการ


การจำแนกประเภทของนิทรรศการโดยพิจารณาจากขนาดวัตถุประสงค์
ระยะเวลาและสถานที่ที่ใช้ในการจัดทำให้ได้นิทรรศการหลากหลายประเภทได้แก่
การจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์นิทรรศการทั่วไปมหกรรมนิทรรศการเพื่อการศึกษา
นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์ นิทรรศการเพื่อการค้านิทรรศการถาวร
นิทรรศการชั่วคราวนิทรรศการเคลื่อนที่นิทรรศการในอาคารนิทรรศการกลางแจ้ง และนิทรรศการกึ่งในอาคารกึ่งกลางแจ้งซึ่งแต่ละประเภทมีรูปแบบและลักษณะดังนี้

การจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์
ลักษณะของการจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์ เป็นนิทรรศการขนาดเล็กสุดที่นำเสนอข้อมูลวัตถุ
สิ่งของ ผลงาน สินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางส่วนพอเป็นตัวอย่างโดยการออกแบบเป็นพิเศษ
ให้สะดุดตา เร้าใจ น่าสนใจ ทำให้ผู้ชมเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจและทัศน
คติที่ดีต่อเนื้อหาเรื่องราว



การจัดจุลนิทัศน์มีลักษณะสำคัญดังนี้

1.เป็นการจัดแสดงวัสดุสิ่งของในบริเวณพื้นที่ขนาดเล็กๆ
เนื้อหาเรื่องราวที่นำมาจัดแสดง
เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาทั้งหมด

2.วัสดุอุปกรณ์ประกอบ
ในการจัดจุลนิทัศน์ไม่ควรมีหลายชิ้นมากนัก
3.ตำแหน่งในการจัดจุลนิทัศน์อาจจัดในสถานที่ที่มีความเหมาะสม

4.
เนื้อหาหรือเรื่องราวที่นำมาจัดแสดงเป็นแนวคิดเดียวกัน
5.หากนำจุลนิทัศน์จากที่ต่าง ๆ จำนวนมากมาจัดรวมกันในสถานที่ใดที่หนึ่งให้ต่อเนื่องกัน


กล่าวถึงขบวนการส่งเสริมการขายด้วยการจัดแสดงสินค้าเพื่อชักนำลูกค้า
ไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้า โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.
ดึงดูดสายตาของผู้ที่เดินผ่านไปมา (attract attention) ด้วยการใช้รูปทรง
สีสัน การจัดแสง การเคลื่อนไหว อักษรที่แปลกใหม่สะดุดตา การใช้รูปแบบ
หรือสีสันที่ตัดกัน
(contrast)อย่างเหมาะสม
2.
เร้าความสนใจของผู้พบเห็น(arouseinterest)การจัดแสดงสินค้าที่ดี
ต้องมีจุดโฟกัส
(focus)เป็นจุดรวมความสนใจของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายโดยการนำสายตา
ด้วยแสง สีสัน การเคลื่อนไหวให้มุ่งตรงไปยังสินค้าที่มีคุณภาพ

3.
ก่อให้เกิดความปรารถนาที่จะเป็นเจ้าของ (stimulate desire)
สามารถทำได้ด้วยวิธีการสาธิตให้เห็นถึงวิธีใช้แสดงให้เห็นถึงคุณภาพและประโยชน
์ของสินค้า ชี้ให้เห็นถึงความความสัมพันธ์และความจำเป็นในการใช้สินค้ากับชีวิต
ประจำวัน

4.
โน้มน้าวให้เกิดความเชื่อมั่นในสินค้าและร้านค้า (conviction)
โดยการบอกเล่าความจริงเกี่ยวกับสินค้าแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงคุณสมบัติต่างๆ ในด้านความปลอดภัยและความประหยัดของทั้งสินค้าและร้านค้า
5.
กระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อ(causeaction)ถ้าผู้จัดแสดงสินค้าสามารถผลักดัน
ให้งานลุล่วงไปด้วยดีมาจนถึงขั้นนี้และสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้สำเร็จ
การขายจะเกิดตามมาโดยอัตโนมัติ ลูกค้าจะเดินเข้าร้านไปซื้อสินค้าเอง

6.
ทำให้เกิดความพึงพอใจหรือประทับใจ(satisfiedorimpression) การจัดแสดงสินค้าที่ดีและต่อเนื่องสม่ำเสมอย่อมทำให้ลูกค้าตลอดจนผู้ดูผู้ชม ผู้พบเห็นเกิดภาพประทับใจมีความพึงพอใจในศิลปะการตกแต่งแสดงสินค้านั้นๆ


นิทรรศการทั่วไป
ในสังคมไทยนิยมเรียกการจัดแสดงสิ่งของหรือเนื้อหาเชิงวิชาการต่าง ๆ ว่า นิทรรศการไม่ว่าการจัดแสดงสิ่งของนั้นจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เพียงใดเรามัก
เรียกรวม ๆ ว่านิทรรศการเสมอ แต่ในที่นี้คำว่า นิทรรศการ เป็นสื่อกิจกรรมขนาด
กลางที่องค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ
นิยมจัดเพื่อแสดงผลงานซึ่งพบเห็นกันโดยทั่วไป เป็นการจัดแสดงผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่มีบริเวณพื้นที่กว้างขวาง
ตั้งแต่การจัดในห้องเรียน บริเวณโรงเรียน ศูนย์การค้า ศาลาวัด ฯลฯ
นักออกแบบนิทรรศการ
ยังแบ่งนิทรรศการ ออกเป็น 4 ขนาดตามขนาด
พื้นที่ที่จัดแสดงคือ


1. นิทรรศการขนาดเล็ก (small exhibits) เป็นนิทรรศการที่จัดขนาดพื้น
ที่น้อยกว่า
400 ตารางฟุตหรือ 37 ตารางเมตร


2. นิทรรศการขนาดกลาง (medium exhibits) ใช้พื้นที่ตั้งแต
401 ตารางฟุต ถึง 1600 ตารางฟุตหรือ 38-148 ตารางเมตร


3. นิทรรศการขนาดใหญ่ (large exhibits) ใช้พื้นที่ตั้งแต่ 1601-4000
ตารางฟุต หรือ 149-371 ตารางเมตร


4. นิทรรศการขนาดยักษ์ (giant exhibits) ใช้พื้นที่ตั้งแต่ 4000 ตารางฟุต
หรือมากกว่า
371 ตารางเมตร


นอกจากข้อกำหนดทางด้านขนาดแล้ว นิทรรศการทั่วไปยังมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1. มักจัดขึ้นในโอกาสพิเศษต่าง ๆ มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
2. มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
3. ใช้วัสดุอุปกรณ์และเนื้อหากิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดฃ
แสดงร่วมกัน


4. ใช้เวลาจัดแสดงไม่ยาวนานอย่างพิพิธภัณฑ์ ไม่เคลื่อนที่ไปตามสถานที่ต่าง ๆ
อย่างรวดเร็วอย่างนิทรรศการเคลื่อนที่


มหกรรม


มหกรรม หรือนิทรรศการขนาดใหญ่มโหฬารระดับชาติหรือนานาชาติ
ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้


1. เป็นการจัดนิทรรศการที่ต้องใช้พื้นที่ที่มีอาณาบริเวณขนาดใหญ่มโหฬาร


2. การจัดงานมหกรรมนานาชาติแต่ละครั้งใช้งบประมาณเป็นจำนวนมหาศาล


3. เป็นการจัดแสดงเพื่อต้อนรับผู้ชมกลุ่มเป้าหมายจากทั่วทุกมุมโลก


4. การจัดมหกรรมนานาชาติต้องแสดงถึงความก้าวหน้าด้านวิทยาการสมัยใหม่


นิทรรศการเพื่อการศึกษา


นิทรรศการเพื่อการศึกษา เป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นเพื่อการถ่ายทอดความรู้และ
ประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้จากการ
แสดงเนื้อหาด้วยสื่อและกิจกรรมต่างๆ

นิทรรศการเพื่อการศึกษามีลักษณะที่สำคัญดังนี้


1.เป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้วยรูปแบบต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้ผู้ชมได้รับการศึกษาและการเรียนรู้เป็นประเด็นสำคัญ


2.ส่งเสริมให้ผู้ชมมีทัศนคติที่ดีทางการศึกษาโดยแสดงให้เห็นถึงบทบาท
ของการศึกษา
ที่ส่งผลถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและความเจริญ


3. เปิดโอกาสให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้มีทางเลือกในการเรียนรู้หรือการ
ศึกษาตามความสามารถและความถนัดของแต่ละบุคคล


4.นิทรรศการทางการศึกษาสามารถจัดได้ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน
บริเวณในโรงเรียน นอกโรงเรียน และสถานที่ทั่วไปในชุมชน


5.รูปแบบของนิทรรศการเพื่อการศึกษาอาจเป็นทั้งนิทรรศการชั่วคราว
นิทรรศการเคลื่อนที่หรือนิทรรศการถาวรเช่นพิพิธภัณฑสถานประจำจังหวัด
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์ในโรงเรียน เป็นต้น


6.หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆสามารถจัดนิทรรศการเพื่อการศึกษาได้เป็นอย่างดี
เช่น กรมไปรษณีย์โทรเลข พิพิธภัณฑ์สถานประจำจังหวัด กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น




นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์มีลักษณะที่สำคัญดังนี้คือ
1.
เป็นการรวบรวมหลักฐานข้อมูลข้อเท็จจริงหรือความคิดที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมด้วยสื่อต่างๆ ให้ผู้ชมได้เข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน
2.
เน้นการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริงขององค์กรหรือหน่วยงานสามารถ
อ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลได้แน่นอน

3.มุ่งแสดงคุณค่าที่น่าเชื่อถือศรัทธาในด้านความรู้ความสามารถ เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของ
หน่วยงานหรือองค์กรที่มีต่อสังคม

4.เป็นการจัดแสดงที่เหมาะสมกับกาลเวลาและโอกาส เหมาะกับเหตุการณ์หรือเทศกาลที่มีความ
สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับองค์กรหรือหน่วยงาน

5.รูปแบบการนำเสนอมีลักษณะแปลกใหม่สามารถกระตุ้นความสนใจและสื่อความหมายได้ดี
ใช้สื่อที่ประณีตเหมาะสมกับแต่ละองค์กรหรือหน่วยงาน

6.ส่งเสริมให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆเช่นการตอบแบบสอบถามการแข่งขันการตอบปัญหา
และการให้ข้อเสนอแนะ เป็นต้น


นิทรรศการเพื่อการค้า
นิทรรศการเพื่อการค้าเป็นการจัดแสดงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมการขายสินค้า

ผลิตภัณฑ์และการบริการให้ได้มากที่สุดตามเป้าหมายที่วางไว้


นิทรรศการเพื่อการค้ามีลักษณะที่สำคัญดังนี้


1. มีจุดมุ่งหมายเพื่อการขายสินค้าเป็นสำคัญ โดยเน้นที่การโฆษณา
ประชาสัมพันธ์
หากเป็นนิทรรศการขนาดใหญ่ของภาคเอกชนที่มีธุรกิจขนาดใหญ่
นิทรรศการเพื่อการค้ามีทั้งรูปแบบนิทรรศการถาวรการใช้สื่อโฆษณาและประชา
สัมพันธ์ในงานนิทรรศการเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของการดำเนินกิจกรรมประเภทนี้


นิทรรศการถาวร
นิทรรศการถาวรเป็นการนำเสนอข้อมูลและจัดแสดงที่ค่อนข้างสมบูรณ์
มีการจัดเป็นประจำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน


นิทรรศการถาวรมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ
2. การจัดนิทรรศการแบบนี้มีการลงทุนสูง
3. วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาจัดแสดงเป็นวัสดุที่คงทน
4. การออกแบบเพื่อการจัดแสดงสิ่งของจะทำอย่างรอบคอบพิถีพิถัน
5. สถานที่ที่ใช้ในการจัดแสดงนิทรรศการจะออกแบบไว้อย่างมีแบบแผนแน่นอน
6. หากเนื้อหาที่จัดแสดงเกี่ยวข้องกับความเชื่อหรือวิถีชีวิตของชุมชน
7. ส่วนใหญ่
นิทรรศการถาวรมักอยู่ในรูปของพิพิธภัณฑ์


นิทรรศการชั่วคราว
นิทรรศการชั่วคราวเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อแสดงเนื้อหาเรื่องใดเรื่อง
หนึ่งเป็นครั้งคราวตามโอกาสที่เหมาะสมอาจใช้เวลาประมาณ
2-10 วัน


นิทรรศการชั่วคราวมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1. เป็นการจัดแสดงระยะสั้น ๆ หรือเป็นครั้งคราว
2. เนื้อหาและกิจกรรมที่นำเสนอจะเป็นเรื่องราวใหม่ ๆ
3.สื่อที่ใช้ในการจัดแสดงนิทรรศการแบบชั่วคราวมีทั้งสื่อประเภทวัสดุ

นิทรรศการเคลื่อนที่

นิทรรศการเคลื่อนที่มีผลดีในการเข้าถึงพื้นที่ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย
ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้ชมมากเนื่องจากมีความสะดวกถ้าเป็นการให้บริการ
ด้านการศึกษา ส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการแต่อย่างใด


นิทรรศการเคลื่อนที่มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1.เป็นนิทรรศการที่ได้จัดเตรียมสื่อสำเร็จไว้เป็นชุด ๆ แต่ละชุดมีความสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ
ในตัวเอง
2.เนื้อหาที่เตรียมไว้มีหลายเรื่องเพื่อสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ชม
3.รูปแบบของนิทรรศการเคลื่อนที่ต้องอาศัยยานพาหนะ
4.สื่อที่ใช้ในนิทรรศการเคลื่อนที่มีจำนวนไม่มากนัก


นิทรรศการในอาคาร
นิทรรศการที่จัดอยู่ร่มภายในอาคารซึ่งอาจเป็นห้องประชุม ห้องโถง
ห้องเรียน เฉลียงหรือระเบียงในอาคาร


การจัดนิทรรศการในอาคารมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.
ดขึ้นภายในอาคารหรือพื้นที่ที่มีหลังคาป้องกันแสงแดดและฝนได้
2.
เนื้อหาของนิทรรศการเป็นเรื่องราวที่ไม่จำเป็นต้องใช้บริเวณกว้างขวางมากนัก
สามารถนำเสนอให้เบ็ดเสร็จภายในอาคารได้

3.
เป็นเนื้อหาที่ต้องการความต่อเนื่องปราศจากสิ่งรบกวนในการชมที่จัดแสดง ไม่ต้องการบรรยากาศธรรมชาติจากภายนอกเป็นองค์ประกอบสำคัญ
4.
จัดในอาคารที่มีห้องและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยได้อย่างแข็งแรง
โดยเฉพาะการจัดแสดงสิ่งของที่มีมูลค่าสูง

5.
มีการควบคุมบรรยากาศด้วยแสงโดยเฉพาะเนื้อหาที่ต้องการสร้างอารมณ์และ
ความรู้สึกของผู้ชมด้วยการเน้นการควบคุมแสงในจุดสำคัญ

6.
การเลือกใช้วัสดุ สามารถใช้วัสดุได้ทุกประเภททั้งชนิดถาวรและไม่ถาวร
เช่น ไม้ หิน โลหะ กระดาษ สีน้ำ สีโปสเตอร์ เป็นต้น

7.
การออกแบบการจัดนิทรรศการภายในอาคารสามารถสร้างสรรค์ด้วยจินตนา
การที่สอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างอิสระเพราะสามารถควบคุมบรรยากาศได


นิทรรศการกลางแจ้ง
นิทรรศการกลางแจ้งเป็นนิทรรศการที่ต้องการพื้นที่ บริเวณกว้างขวาง
โล่งแจ้ง
มีผู้ชมจำนวนมาก


การจัดนิทรรศการกลางแจ้งมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.
จัดแสดงสื่อสิ่งของหรือกิจกรรมบริเวณภายนอกอาคาร
2.
จัดได้ทั้งแบบถาวรและแบบชั่วคราว
3.
เนื้อหาที่นำเสนอมีความสัมพันธ์กับพื้นที่จัดแสดงซึ่งอาจมีบริเวณกว้าง
ขวางเป็นธรรมชาติ


นิทรรศการกึ่งกลางแจ้ง
นิทรรศการกึ่งกลางแจ้งเป็นการแสดงวัสดุหรืออุปกรณ์
ทั้งในอาคาร
และกลางแจ้งในเวลาเดียวกัน


นิทรรศการกึ่งกลางแจ้งมีลักษณะสำคัญดังนี้
ี้
1. เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงบางส่วนอยู่ในอาคารและบางส่วนอยู่บริเวณกลางแจ้ง
2.
อาจจัดเป็นแบบถาวรหรือแบบชั่วคราวก็ได้
3.
เนื้อหาที่อยู่นอกอาคารมักมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติแวดล้อมซึ่งอาจ
เป็นหุ่นจำลองหรือของจริงก็ได้

4.
สื่อที่จัดแสดงด้านนอกอาคารมีขนาดใหญ่
5. สามารถออกแบบให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดนิทรรศการ
ประเภทต่าง ๆ



บทที่ 3 หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ


บทที่ 3
หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ
ในการจัดนิทรรศการมีหลักการสำคัญที่ควรคำนึงถึงได้แก่ หลักจิตวิทยา
ในการจัดนิทรรศการและหลักการออกแบบนิทรรศการ
ในบทนี้จะกล่าวถึงหลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ ส่วนหลักกา
รออกแบบนิทรรศการจะกล่าวในบทต่อไป


การรับรู้
การรับรู้คือการสัมผัสที่มีความหมายการรับรู้เป็นกระบวนการ
หรือตีความแห่งการสัมผัส
ที่ได้รับออกเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมาย
คนเราจะต้องใช้ความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่มี
มาก่อน โดยปกติเรา
รับรู้โดยผ่านระบบรับสัมผัส ซึ่งได้แก่ ระบบรีเซ็บเตอร์ใน ตา หู จมูก
ลิ้น ผิวหนังและกล้ามเนื้อ ดังนั้นในการจัดนิทรรศการ ผู้จัดควรคำนึงถึง
องค์ประกอบหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ดังนี้


1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้แบ่งออกเป็นปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายนอก
(external attention factor)
กับปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายในหรือปัจจัย
ด้านจิตวิทยา
(psychological factor)


1.1 ปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายนอก


1.2 ปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายใน


2. การรับรู้นิทรรศการตามแนวทฤษฎีจิตวิทยา
2.1
หลักของความใกล้ชิด
หลักของความใกล้ชิด หมายถึง สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กันทำให้เรามีแนวโน้มที่
ี่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่อยู่ห่างกัน
ทฤษฎีทางจิตวิทยาการรับรู้
ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดนิทรรศการได้ ได้แก่ ทฤษฎีของกลุ่มเกสตอลท์
(Gestalt Theory) ซึ่งมีแนวคิดว่าองค์ประกอบสำคัญของภาพหรือสิ่งเร้าที่เรา
รับรู้โดยทั่วไปมี
2ส่วนคือภาพและพื้นดังนั้นการรวมกันของภาพและพื้นจึง
ถือเป็นกฎสำคัญของการจัดสิ่งเร้าเพื่อการกระตุ้นความสนใจซึ่งมี
หลัก
4 ประการได้แก่ หลักของความใกล้ชิด (principle of proximity)
หลักของความคล้ายคลึง
(similarity) หลักของความต่อเนื่อง
(principle of continuity) และหลักของความประสาน (principle of closure)



2.2
หลักของความคล้ายคลึง
หลักของความคล้ายคลึงหมายถึงสิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทำ
ให้การรับรู้มีแนวโน้มที่จะเป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่แตกต่างกัน


แม้ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ใกล้กันหรือไกลกันก็ตาม


2.3 หลักของความต่อเนื่อง
หลักของความต่อเนื่อง หมายถึง สิ่งเร้าที่ปรากฏให้เห็นอย่างซ้ำ ๆ เ
หมือนกันไปในทิศทางเดียวกันอย่างต่อเนื่องจะมีแนวโน้มเป็นพวกเดียวกัน
มากกว่าที่จะแยกกันคนละทิศทาง


2.4 หลักของความประสาน
หลักของความประสานเป็นการต่อเติมสิ่งเร้าที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์
(closure)
สิ่งที่ผิดปกติหรือส่วนของรูปภาพหรือของวัตถุที่หายไปจะกระตุ้น
การรับรู้ได้ดี ความไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความสงสัยทำให้เราสนใจและคาด
เดาด้วยการเติมเต็มส่วนที่บกพร่องให้สมบูรณ์


การเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อันเป็นผลจาก
การฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่่
เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
การจัดนิทรรศการเป็นสื่อกิจกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ของผู้ชมได้ดีเนื่องจากการใช้สื่อหลายชนิดและวิธีการนำเสนอที่หลากหลาย
ทำให้สามารถตอบสนองการเรียนรู้ได้หลายด้านการเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการ
มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้แตกต่างจากการเรียนรู้ในห้องเรียนทั่วไป
ผู้ชมได้รับ
ความรู้ควบคู่กับความบันเทิงทั้งยังสามารถเลือกชมสื่อหรือเนื้อหาได้ตามอัธยาศัย
ตามความสนใจ และจะใช้เวลาในการชมหรือเรียนรู้ได้ตามความต้องการ

นักจิตวิทยาหลายท่านได้ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องแล
ะได้ข้อสรุปเป็นแนวคิดและทฤษฎีซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็น
แนวทางให้เกิดประโยชน์ในการจัดนิทรรศการได้ดังนี้


1. ประเภทของการเรียนรู้


2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้ชมในการชมนิทรรศการ


จิตวิทยาพัฒนาการ


นักจิตวิทยาหลายท่านได้ศึกษาถึงพัฒนาการของมนุษย์วัยต่าง ๆ ตั้งแต่ปฏิสนธิ
ิจนถึงวัยชรา
ทำให้เรารู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์แต่ละวัยว่ามีความสนใจและ
ความต้องการแตกต่างกันอย่างไร
วัยหรืออายุของผู้ชมมีความเกี่ยวข้อง
กับวุฒิภาวะ ความพร้อม การรับรู้ การเรียนรู้ ความต้องการ
ความสนใจและประสบการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อผล
สัมฤทธิ์ในการชมนิทรรศการ ดังนั้นในการจัดนิทรรศการจึง
ควรคำนึงถึงวัยของผู้ชมดังนี้


1. วัยเด็กตอนต้น


2. วัยเด็กตอนกลาง


3. วัยรุ่น


4. วัยผู้ใหญ่



บทที่4 หลักการออกแบบนิทรรศการ

บทที่ 4
หลักการออกแบบนิทรรศการ


การออกแบบเป็นกระบวนจัดองค์ประกอบในทุกสาขาวิชาให้มีลักษณะ
แปลกใหม่ สวยงามสื่อความหมายได้ดีและมีประโยชน์ในการใช้สอยโดยอาศัย
ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการเป็นหลักสำคัญในการจุดประกายความคิด
การออกแบบที่ดี
สามารถกระตุ้นและเร้าความสนใจผู้ชมให้เกิดการเรียนรู้
และประทับใจในเนื้อหาสาระและสื่อหรือวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดนิทรรศการ
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


ความหมายของการออกแบบ
การออกแบบตรงกับภาษาอังกฤษว่า “design” ในภาษากรีก
หมายถึงบทกวี
(poetry)ต้องมีการวางเค้าโครงตามจินตนาการของผู้ประพันธ์
ผสมผสานกับความรู้สึกที่แสดงออกให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างมีศิลปะและสุนทรียภาพ

จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่าการออกแบบหมายถึงความคิดคำนึงหรือจินตนาการ
เกี่ยวกับความสัมพันธ์โดยรวมขององค์ประกอบย่อยกับโครงสร้างของแต่ละเรื่อง
ในการออกแบบเรื่องหนึ่งๆนักออกแบบจะพยายามสร้างทางเลือกหลาย ๆ แบบโดย
การสลับสับเปลี่ยนคุณสมบัติขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ขนาด พื้นผิว
ตำแหน่งทิศทางรูปร่างรูปทรงจังหวะเพื่อให้ได้โครงสร้างที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้นการออกแบบจึงเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเสมอ


คุณค่าของการออกแบบ
การออกแบบมีคุณค่าหลายประการสรุปว่าการออกแบบเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์
กับมนุษย์และระหว่างมนุษย์กับวัตถุที่มีคุณค่า
3 ประการ คือ


1.เพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น การออกแบบเครื่องไฟฟ้า
เครื่องครัว สุขภัณฑ์ เครื่องใช้สำนักงานและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ


2. เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โปสเตอร์
ป้ายโฆษณา
แผ่นปลิว


3.เพื่อคุณค่าทางความงามซึ่งเกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์เช่นภาพเขียนอุนสาวรีย์ภาพปั้นที่แสดงออกซึ่งความคิดจินตนาการและความงาม


กล่าวโดยสรุปจากความคิดของเชอร์เมเยฟ การออกแบบมีคุณค่า ดังนี้


1. เหมือนกับเครื่องมือในการจัดระบบ


2. เป็นวิถีทางที่จะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับบุคคล


3. เป็นกระบวนการพัฒนาให้เกิดความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดี


4. ตอบสนองความต้องการเร่งด่วนในสังคมไม่ใช่ส่วนเกิน


5. เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอด หรือเป็นการวางแผนในเชิงทรัพยากร


6. สามารถประหยัดด้านเศรษฐกิจโดยลดต้นทุนทางด้านแรงงานและอุปกรณ์


7. สามารถประหยัดเวลา โดยการเสนอข้อมูลที่กระจ่างชัด


8. กระตุ้นการสื่อสาร เป็นการช่วยให้บุคคลจำนวนมากขึ้น มีความเข้าใจต่อสื่อที่เสนอช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่กว้างและรวดเร็วขึ้น


9.ทำให้การใช้ การผลิต และการเตรียมงานง่ายสะดวกสบายขึ้น


10. ช่วยให้เครื่องจักรกลเหมาะสมสอดคล้องกับมนุษย์ทางด้านกายภาพมากขึ้น


ดังนั้นจึงประมวลได้ว่าการออกแบบมีความจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์มีคุณค่าใน การตอบสนองด้านประโยชน์ใช้สอยการติดต่อสื่อสารและความงามการออกแบบจะช่วยใน
การจัดระบบให้ประหยัดเศรษฐกิจเวลาแรงงานทำให้เกิดความสะดวกสบายปลอดภัยเรียนรู้ได้
กว้างขวางและรวดเร็วขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ทำให้ผู้ออกแบบได้แสดงศักยภาพที่มีอยู่


จุดมุ่งหมายของการออกแบบ


โดยทั่วไปการออกแบบมีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ การออกแบบ
เพื่อประโยชน์ใช้สอย และการออกแบบเพื่อความงามและความพอใจ


-การออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย


-การออกแบบเพื่อความงามและความพอใจ


การออกแบบนิทรรศการ
การออกแบบนิทรรศการเป็นการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง
ซึ่งกันและกันทั้งที่เป็นเนื้อหาเรื่องราววัสดุอุปกรณ์รูปแบบงบประมาณ สถานที่
และลักษณะธรรมชาติของผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย


วัตถุประสงค์ของการออกแบบนิทรรศการ


-การออกแบบนิทรรศการมีวัตถุประสงค์หลายประการดังต่อไปนี้


-เพื่อกระตุ้นความสนใจให้ประชาชนได้รับความรู้และประสบการณ์จากการ
จัดนิทรรศการ


-เพื่อเป็นการสร้างสรรค์รูปแบบของสื่อต่าง ๆ และเนื้อหาให้มีลักษณะกระชับ
สวยงามตรงประเด็น เข้าใจง่าย


-เพื่อเป็นการกระตุ้นและดึงดูดความสนใจประชาชนให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร


-การออกแบบที่ดีเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ดูแปลกตาและน่าทึ่งอย่าง
ไม่มีที่สิ้นสุด


-เป็นการประหยัดเวลา งบประมาณ และแรงงานในการลองผิดลองถูกกับสถานที่จริง
ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อความล้มเหลว


หลักการออกแบบในการจัดนิทรรศการ
การออกแบบทุกสาขาวิชาให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรคำนึงถึง
การจัดองค์ประกอบให้สัมพันธ์กันและกลมกลืนกับหลักการ
ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์นั้น ๆ

หลักการออกแบบนิทรรศการมีดังนี้


- ความเป็นเอกภาพ
- ความสมดุล
- การเน้น
- ความแตกต่าง
- ความกลมกลืน
- ความเรียบง่าย
- ความสมบูรณ์


จะเห็นได้ว่าหลักการออกแบบในการจัดนิทรรศการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ประกอบด้วยหลักใหญ่ ๆ อยู่
3 ประการ ได้แก่ ความเป็นเอกภาพ ความสมดุล
และการเน้น ซึ่งแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์กัน




บทที่5 ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ

บทที่ 5
ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ

นอกจากหลักการสำคัญของการจัดนิทรรศการ ซึ่งได้แก่หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการและหลักการออกแบบนิทรรศการ
ดังได้กล่าวในบทก่อนแล้ว การจัดนิทรรศการที่ดียังประกอบด้วยการบริหาร
จัดการขั้นตอนในการจัดนิทรรศการที่ดีด้วย

ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อเป็นแนวทางการจัดนิทรรศการให้มีประสิทธิภาพและเป็นการป้องกัน
ความล้มเหลวของการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งด้วย

ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ
แม้การจัดนิทรรศการแต่ละประเภทแต่ละครั้งจะมีรูปแบบเนื้อหา
วัตถุประสงค์และกลุ่ม เป้าหมายแตกต่างกัน แต่ก็มีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่าง
น้อย
4 ขั้นตอนเหมือนกันคือ ขั้นการวางแผน (planning stage) ขั้นปฏิบัติการ
ผลิตสื่อและติดตั้ง
(media production stage) ขั้นการนำเสนอ (presentation stage)
และขั้นการประเมินผล
(evaluation stage)
แนวทางการจัดนิทรรศการที่ดี

ในขณะที่ดำเนินการตามขั้นตอนของการจัดนิทรรศการ
ผู้จัดควรคำนึงถึงแนวทางการจัดนิทรรศการที่ดีดังต่อไปนี้

1.เนื้อหาที่นำมาจัดนิทรรศการต้องตรงกับความสนใจและ
มีความหมายต่อการเรียนรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มนอกจากนี้การ
จัดนิทรรศการแต่ละครั้งต้องมีวัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์ต่อผู้ชมอย่างชัดเจน ไม่ควรจัดตามประเพณีนิยมหรือจัดเพื่อให้เสร็จสิ้นงบประมาณประจำปีเท่านั้น

2.เนื้อหาที่จัดแสดงในจุดหนึ่งๆควรมีจุดมุ่งหมายเดียวหรือแนวคิดเดียว แสดงออกถึงความมีเอกภาพทั้งด้านเนื้อหาความรู้ความคิดและองค์ประกอบทางกายภาพ
เช่นวัสดุอุปกรณ์การออกแบบสื่อทุกชนิดให้มีรูปแบบเดียวกันสอดคล้องกัน แต่หากมีหลายแนวคิดควรแบ่งพื้นที่ออกจากกันไม่ควรให้ปะปนกัน

3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการจัดนิทรรศการที่ดีต้องจัดให้ผู้ชมดู
มิใช่จัดให้อ่านเพราะการจัดให้มีตัวหนังสือมากเกินไปจะทำให้ผู้ชมเสียเวลาใน
การอ่านยิ่งไปกว่านั้นหากไม่ใช่เรื่องสำคัญไม่ตรงกับความสนใจจะทำให้ผู้ชมเบื่อได้ แต่ในกรณีที่ต้องการให้ผู้ชมได้รับความรู้จากการอ่านควรบรรจุเนื้อหาไว้ในสื่อ
สิ่งพิมพ์จำพวกแผ่นพับหรือใบปลิว

4.ตัวหนังสือที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรเป็นแบบเดียวกัน สวยงาม
เหมาะสมกับเนื้อหา
อ่านง่ายสื่อความหมายดีข้อควรกะทัดรัดกระตุ้นความสนใจ
ยั่วยุหรือท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของผู้ชม ไม่ใช่เขียนสวยแต่อ่านยาก
หรืออ่านไม่ออก

5.การออกแบบควรมีลักษณะง่ายสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ยากให้ดูง่าย
ใช้เวลาในการทำความเข้าใจน้อยที่สุดอย่าให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกยุ่งเหยิงในการดูเป็น
อันขาดเนื่องจากผู้ชมมีหลายระดับแตกต่างกันจึงควรจัดรูปแบบให้น่าสนใจดูง่าย
สื่อความหมายดีและมีความหมายต่อการเรียนรู้ของผู้ชม

6. การจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ดีจะช่วยกระตุ้นความสนใจและ
สื่อความหมายกับผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องของสีสามารถ
กระตุ้นความรู้สึกและส่งเสริมการเรียนรู้ได้โดยตรง
ดังนั้นจิตวิทยาในการใช้สี
จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการเป็นอย่างมาก

7พึงระวังอย่างให้การจัดแสดงผลงานที่ใช้เวลาในการเตรียม
มานานกลายเป็นนิทรรศการ
ตายคือมีเฉพาะบอร์ดหรือป้ายนิเทศที่ติดตั้งเคียงคู่
กับวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีชีวิตชีวาไม่มีใครสนใจนหรืออย่างมากก็เพียงผู้ชมเดินเข้า
มาดูๆแล้วผ่านไปอย่างไม่มีความหมายวิธีแก้ไขควรให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในกิจกรรม
โดยวิธีการต่าง ๆ อย่างเพลิดเพลินแต่แฝงไปด้วยสาระความรู้ เช่น
การมีส่วนร่วมในการสาธิต การทดลอง การตอบปัญหา การแข่งขันทักษะ
การประกวดการแสดง เป็นต้น

8.สื่อที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรมีหลายประเภททั้งสื่อภาพนิ่งสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อ
3มิติซึ่งอาจจะเป็นหุ่นจำลองของจริงสื่อที่มีการเคลื่อนไหวด้วยการหมุนการไหล การเคลื่อนที่ไปมาหรือการกระพริบของหลอดไฟจะช่วยเรียกร้องความสนใจได้เป็นอย่างดี
9.วัสดุที่นำมาสร้างสรรค์สื่อเพื่อนำเสนอในนิทรรศการควรมีคุณสมบัติ
สอดคล้องเป็นหมวดเดียวกับเนื้อหาและสิ่งแวดล้อม จะช่วยให้ดูกลมกลืนมีเอกภาพ

10.สื่อหรือสิ่งของที่นำมาจัดแสดงหากไม่เป็นอันตรายต่อผู้ชม สื่อเหล่านั้นควรมีลักษณะเชิญชวนหรือยั่วยุให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เช่น การเปิด
การปิด การหยิบจับ การทดลอง การร่วมทายปัญหาหรือแสดงความคิดเห็น
การแข่งขัน

11.สถานที่ในการจัดนิทรรศการควรมีลักษณะโดดเด่นโอ่โถง
ไม่ใช่มุมอับ ซอกมุมหรือบริเวณที่ถูกปิดบังด้วยสิ่งอื่น ๆ ซึ่งทำให้ยากแก่การมองเห็น
นอกจากนี้สถานที่จัดนิทรรศการไม่ควร
อยู่ห่างจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายมากจนเกินไป
เพราะการเดินทางไกลอาจเป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าชมและเข้าร่วมกิจกรรม
นิทรรศการก็ได้

12.แสงและอากาศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการ ผู้จัดต้องแน่ใจว่าการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งมีแสงสว่างและอากาศดีเพียงพอ
อาจจะเป็นแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟ
ก็ได้เทคนิคการควบคุมแสงให้สว่าง
เฉพาะที่จะช่วยกระตุ้นอารมณ์และกระตุ้นความสนใจได้ดีเป็นพิเศษนอกจากนี้แสงยัง
ช่วยโน้มน้าวให้เกิดบรรยากาศได้ตามจินตนาการของผู้จัดและนักออกแบบนิทรรศการ
ได้เป็นอย่างดีด้วย

ความล้มเหลวของการจัดนิทรรศการ

ดังได้กล่าวมาแล้วว่านิทรรศการเป็นกิจกรรมที่รวมเอาสื่อ
หลายชนิดมาจัดแสดงพร้อมกับวัสดุสิ่งของอื่น ๆ และต้องใช้งบประมาณ
เวลา ความรู้ความสามารถของบุคลากรตลอดจนการประสานงานที่ดี ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาอุปสรรคในการจัดนิทรรศการจึงควรตระหนัก
ถึงสาเหตุหลายประการที่ทำให้การจัดนิทรรศการประสบความล้มเหลวดังนี้

1.ขาดการวางแผนที่ดีการดำเนินงานทุกชนิดโดยเฉพาะงานที่มีองค์ประกอบ
เกี่ยวข้องหลายอย่างต้องอาศัยการประสานความร่วมมือกับบุคคลอื่นจำเป็นต้องมีการวางแผน
เป็นอย่างรอบคอบ
มองปัญหาทุกแง่มุมทั้งภาพกว้างและภาพลึกในรายละเอียด มิฉะนั้นจะนำมาซึ่งความยุ่งยากลำบอกให้เสียเวลาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ซึ่งอาจเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

2.ขาดการประสานที่ดีระหว่างผู้บริหารหรือเจ้าของงานกับผู้ปฏิบัติงาน นับเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในการจัดกิจกรรมนิทรรศการ โดยเฉพาะนิทรรศการ
ขนาดใหญ่ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่างผู้บริหารหรือเจ้าของงานจำเป็นต้อง
มีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายต่างๆอย่างเป็นระบบสามารถอำนวยความสะดวก
ในการปฏิบัติงานได้อย่างไม่ติดขัดส่วนผู้ปฏิบัติแต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบงานที่ได
้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของภาพรวมทั้งหมด
ของงานแต่ละครั้ง

3.มีเวลาในการเตรียมและการดำเนินงานน้อยเกินไป การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งต้องในเวลาในการติดต่อประสานงานและการเตรียมสื่อ
หลายชนิดในการนำเสนอหลายรูปแบบยิ่งนิทรรศการขนาดใหญ่ยิ่งใช้สื่อทั้ง
วัสดุอุปกรณ์และกิจกรรมจำนวนมากสื่อแต่ละชนิดต้องอาศัยผู้ชำนาญการเฉพาะ
ทางในการออกแบบและวางแผนเพื่อการนำเสนอต้องใช้เวลามากพอสมควรในการ
เตรียมและซักซ้อมหรือทดลอง หากมีเวลาน้อยอาจทำให้ผิดพลาดและล้มเหลวได้

4.การจัดนิทรรศการไม่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
การจัดนิทรรศการครั้งใดก็ตามหากการนำเสนอสื่อหรือเนื้อหาที่ไม่ตรงกับธรรมชาต
ิของผู้ชมไม่สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาการรับรู้และเรียนรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายแต
่ละวัยขาดการกระตุ้นให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของสิ่งที่นำเสนอทำให้เสียเวลา
และสิ้นเปลืองงบประมาณไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

5.การจัดนิทรรศการไม่เหมาะกับเหตุการณ์หรือเทศกาล กิจกรรมนิทรรศการที่จัดขึ้นโดยไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์หรือเทศกาลในสังคมท้องถิ่น
จะทำให้ขาดความสนใจจากประชาชนหรือผู้ชมกลุ่มเป้าหมายดังนั้นในในขั้นการ
วางแผนจัดนิทรรศการควรคำนึงอยู่เสมอว่าเทศกาลต่างๆในท้องถิ่นคือโจทย์ปัญหา
ของสังคมที่ต้องการคำตอบหรือแนวคิดจากกิจกรรมนิทรรศการ

6.ขาดการออกแบบที่ดีสื่อต่างๆที่นำมาจัดแสดงโดยเฉพาะสินค้าหรือ
ผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันสวยงามมีความหมายสัมพันธ์กับเนื้อหาสาระ
ของนิทรรศการสามารถกระตุ้นการรับรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพหากสื่อ
หรือสิ่งของต่างๆที่นำเสนอในงานนิทรรศการไม่สวยงาม
ขาดความประณีต ขาดความกลมกลืนของวัสดุกับเรื่องราวจะทำให้ผู้ชมขาดความสนใจไปด้วย

7.ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีการดำเนินกิจกรรมใดๆที่ต้องการให้บุคคลอื่นรับรู้
และให้ความร่วมมือจำเป็นต้องใช้การประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่หรือบอกข่าว ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบทั้งล่วงหน้าและระหว่างการดำเนินงาน หากขาดการประชาสัมพันธ์จะทำให้ประชาชนหรือผู้ชมกลุ่มเป้าหมายขาดการรับรู้และ
ไม่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการครั้งนั้นไปด้วย

8.ขาดงบประมาณสนับสนุนการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้
งบประมาณในการดำเนินงานซึ่งแต่ละครั้งแต่ละงานอาจมีค่าใช้จ่ายไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการเช่นบางงานมีเนื้อหาที่มีประโยชน์กับ
ชุมชนมากต้องนำเสนอด้วยสื่อวัสดุอุปกรณ์คุณภาพดีเป็นสื่อถาวรอาจมีการจัดซื้อ
จัดจ้างในราคาสูง แต่บางครั้งเป็นนิทรรศการชั่วคราวอาจใช้วัสดุสิ้นเปลืองราคา
ย่อมเยาได้

9.มีความบกพร่องทางเทคนิคบางประการ เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ
กระแสไฟฟ้า ขัดข้อง เครื่องอุปกรณ์ชำรุดขณะใช้งาน ตัวหนังสืออ่านยาก คำอธิบาย
เข้าใจยาก

10.สถานที่จัดอยู่ห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายหรือการคมนาคมไม่สะดวก ความล้มเหลวในการจัดนิทรรศการบางครั้งเห็นได้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุหลายประการ และที่สำคัญประการหนึ่งคือสถานที่จัดงานอยู่ห่างไกลจากชุมชนหรือผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย เว้นเสียแต่ว่าเนื้อหาสาระของนิทรรศการนั้นมีความสำคัญ มีคุณค่า และเป็นประโยชน์
อย่างยิ่งกับการดำเนินชีวิตต่างๆดังนั้นในขั้นการวางแผนควรเลือกสถานที่ที่อำนวยความ
สะดวกต่อผู้ชมให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้


บทที่6 เทคนิคการจัดนิทรรศการ

บทที่ 6

เทคนิคการจัดนิทรรศการ

ในบทก่อนได้กล่าวถึงขั้นตอนในการจัดนิทรรศการโดยทั่วไป
บทนี้เป็นการเลือกนำเสนอเทคนิคการจัดวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของต่างๆ
เพื่อเป็นตัวอย่างและเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์นิทรรศการ
ให้น่าสนใจและเกิดประโยชน์ใช้สอยตรงตามวัตถุประสงค์ของ
การจัดนิทรรศการ

การจัดแผ่นป้าย
แผ่นป้าย (board) หมายถึง แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้
เป็นวัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงซึ่งมีหลายรูปแบบหลายลักษณะ
แตกต่างกัน มีทั้งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง สี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน

ปัจจุบันแผ่นป้ายในนิทรรศการมีรูปแบบแปลกใหม่หลากหลาย
ใช้ประโยชน์ได้หลายประการเช่นเป็นแผงกั้นบริเวณใช้ในการกำหนด
ทางเดินเป็นวัสดุตกแต่งนิทรรศการการออกแบบแผ่นป้ายติดกับแท่นวาง
สิ่่่งของผลิตภัณฑ์ทำให้แผ่นป้ายทำหน้าที่เป็นฉากป้องกันสิ่งรบกวนที่ไม
่พึงประสงค์ สามารถตรึงความสนใจผู้ชมให้รับรู้เฉพาะจุดที่กำหนดได้

1. ประเภทของแผ่นป้าย
แผ่นป้ายมีหลายประเภททั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ต่างๆที่ใช้ในการพิจารณาเช่นการจำแนก
ตามวัสดุที่ใช้ทำ การจำแนกตามลักษณะการติดตั้ง การจำแนกตามลักษณะการใช้งาน
และการจำแนก
ตามลักษณะการจัดแสดง
1.1 การจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำ ได้แก่ ไม้ พลาสติก โลหะ
1.2 การจำแนกตามลักษณะการติดตั้ง การจำแนกตามลักษณะการติดตั้ง ได้แก่
ป้ายที่เคลื่อนที่ได้ และป้ายที่เคลื่อนที่ไม่ได้

1.3 การจำแนกตามลักษณะการใช้งาน การจำแนกตามลักษณะการใช้งาน
ได้แก่ แบบสำเร็จรูป และแบบถอดประกอบ

1.4 การจำแนกตามลักษณะการจัดแสดง การจำแนกตามลักษณะการจัดแสดง
ได้แก่ แบบตั้งแสดง แบบแขวน แบบติดฝาผนัง

2. เทคนิคการจัดแผ่นป้าย
การจัดวางแผ่นป้ายทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหา
ทำเลที่ตั้งแสดง บริเวณและรูปแบบของแผ่นป้าย
2.1 แผ่นป้ายยึดติดกับขาตั้งอย่างถาวร
2.2 แผ่นป้ายอิสระ
2.3 แผ่นป้ายสามเหลี่ยมรูปตัวเอ
2.4 แผ่นป้ายแบบแขวน
2.5 แผ่นป้ายแบบโค้งงอรูปตัวเอส
(S)
2.6 แผ่นป้ายแบบกำแพง
2.7 แผ่นป้ายสำหรับจัดร้านขายสินค้า
2.8 แผ่นป้ายตั้งแสดง
2.9 แผ่นป้ายผืนธง

การจัดป้ายนิเทศ
ป้ายนิเทศ (bulletin board) เป็นสื่ออย่างหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันมาก
ทั้งในวงการศึกษา วงการธุรกิจ วงการเมือง

กล่าวโดยสรุปว่าป้ายนิเทศเป็นสื่อทัศนวัสดุประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ คือเป็นแผ่นป้ายที่ทำหน้าที่เสนอเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ผู้ชม
ได้เรียนรู้ตามความเหมาะสม
รูปแบบของป้ายนิเทศอาจเป็นป้ายสำเร็จรูปที่มีเนื้อหา
เขียนหรือพิมพ์ติดอยู่กับแผ่นป้ายโดยตรงสามารถนำไปจัดแสดงได้ทันที่ หรืออาจเป็นแผ่นป้ายว่างเปล่าเพื่อเป็นพื้นรองรับการติดตั้งเนื้อหา
ความรู้จากสื่อทัศนวัสดุอื่น เช่น รูปภาพ แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ
โปสเตอร์ บางครั้งแผ่นป้ายว่างเปล่าอาจถูกนำไปใช้เป็นป้ายประกาศ
ป้ายโฆษณา หรือป้ายประชาสัมพันธ์ก็ได้


1. คุณค่าของป้ายนิเทศ
ป้ายนิเทศเป็นสื่อที่มีคุณค่าหลายประการ เช่น เป็นสื่อเร้าความสนใจผู้ชมโดยใช้รูปภาพ
ข้อความ และสัญลักษณ์ที่สวยงามและมีความหมายต่อผู้ชม


2. หลักการและเทคนิคการจัดป้ายนิเทศ

การจัดป้ายนิเทศที่ดีมีเทคนิคและหลักการดังนี้
2.1 หลักการจัดป้ายนิเทศ
-การกระตุ้นความสนใจ
-การมีส่วนร่วม
-การตรึงความสนใจ
-ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
-การเน้น

-การใช้สี
2.2
เทคนิคการจัดป้ายนิเทศ การจัดป้ายนิเทศที่ดีมีคุณค่าในการสื่อความหมาย
ควรมีองค์ประกอบต่าง ๆ และเทคนิคดังต่อไปนี้

-ชื่อเรื่อง
-ข้อความเชิญชวนหรือคำอธิบาย
-การสร้างมิติเพื่อการรับรู้
-การใช้สี แสง เงา และบริเวณว่าง
-การเคลื่อนไหว
-การใช้รูปภาพ
-การจัดองค์ประกอบ
-การตกแต่งพื้นป้ายนิเทศ
-การจัดป้ายนิเทศร่วมกับสื่ออื่น
-การใช้เนื้อหาหรือกิจกรรมเป็นตัวกำหนด

3. การจัดป้ายนิเทศให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
การจัดป้ายนิเทศให้ประสบผลสำเร็จได้ดีต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังนี้

3.1 การจัดภาพบนหน้าต่างหรือแบบวินโดว์
3.2 การจัดภาพแบบละครสัตว์ การจัดภาพแบบละครสัตว์
(circus)
3.3 การจัดภาพแบบแกน การจัดภาพแบบแกน
(axial)
3.4 การจัดภาพแบบกรอบภาพ การจัดภาพแบบกรอบภาพ (frame)
3.5 การจัดภาพแบบตาราง
การจัดภาพแบบตาราง (grid)
3.6 การจัดภาพแบบแถบ การจัดภาพแบบแถบ
(band)
3.7 การจัดภาพแบบแกน การจัดภาพแบบแกน (path)
บริเวณว่างเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดนิทรรศการ สามารถทำให้
นิทรรศการมีคุณค่าและประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดีบริเวณ
ว่างจะเข้าไปเกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อองค์ประกอบอื่นทำให้ผู้ชมเกิดความพึงพอ
ใจในประโยชน์ใช้สอยและความงามจากการออกแบบ
และการกำหนดบริเวณว่าง
ที่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงลักษณะและการออกแบบบริเวณว่างดังนี้
1. ลักษณะของบริเวณว่าง
บริเวณว่างมี2ลักษณะได้แก่บริเวณว่างที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์ (positive space)
และบริเวณว่างที่นอกเหนือจากการใช้สอย (negative space)
2. การออกแบบบริเวณว่าง

บริเวณว่างเป็นพื้นที่ที่สามารถออกแบบให้เกิดประโยชน์ได้หลายวิธีดังนี้
2.1 การจัดองค์ประกอบแนวตั้ง
2.2 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้ง
2.3 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล
(L)
2.4 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งขนานกัน
2.5 การจัดองค์ประกอบระนาบรูปตัวยู

3. การกำหนดบริเวณว่างในเชิงจิตวิทยา
การใช้บริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาเพื่อการเชิญชวนลูกค้าหรือ
ผู้ชมเข้าชมและร่วมกิจกรรมควรคำนึงถึงธรรมชาติของการปฏิ
สัมพันธ์และการแสดงออกของผู้ชมโดยเฉพาะลูกค้าใดๆ ทุกชนิด
ระหว่างทางสัญจรภายนอกกับบริเวณภายในนิทรรศการ
ควรยึดหลักสำคัญคือการหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางใหม่หรือผู้ชมที่ยัง
ไม่คุ้นเคยกับสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่
การกำหนดทางเดินชมนิทรรศ
การ
การจัดตั้งป้ายนิเทศเป็นงานขั้นลงมือปฏิบัติในพื้นที่จริงซึ่งอาจมี
การปรับเปลี่ยนจากแบบบ้างเพื่อให้เหมาะกับสภาพพื้นที่จริงตำแหน่ง
และทิศทางการติดตั้งป้ายนิเทศควรสัมพันธ์กับทางเดินดังนั้นควรเลือก
มุมที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและสะดวกในการเดินเข้าไปชมในระยะ
ใกล้ได้ต้องหลีกเลี่ยงมุมอับลึกแหลมหรือมุมแคบด้วยการจัดเสียใหม่

ให้เป็นมุมป้านออก จะทำให้ผู้ชมสามารถชมได้อย่างทั่วถึง
1. การสัญจรทิศทางเดียวชมได้ด้านเดียว
2. การสัญจรทิศทางเดียวชมได้ 2 ด้าน
3. การสัญจรอย่างอิสระตามความต้องการ