วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

เนื้อหาวิชาการจัดนิทรรศการ (Display)




บทที่ 1
บทนำเกี่ยวกับการจัดแสดงและนิทรรศการ


ปัจจุบันการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เพื่อให้เกิดความรู้
และความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์มีหลายวิธีและหลายรูปแบบแตกต่างกัน วิธีดำเนินการมีทั้งทางตรงและทางอ้อมการจัดแสดงและนิทรรศการเป็นสื่อ
ประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการเผยแพร่ความรู้ ทัศนคติ ประสบการณ์ และการ
ประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลทั้งในวงการการศึกษา การเมือง
ธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน
ความหมายของการจัดแสดง


ในวงการการศึกษามีผู้ให้ความหมายและอธิบายคำว่าการจัดแสดง (display)
ไว้หลายทรรศนะดังนี้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ
.. 2542 อธิบายคำว่า จุลนิทัศน์
ว่ามาจากคำว่า จุล กับ นิทัศน์

จุล
(.) เล็ก น้อย ใช้นำหน้าคำสมาส
นิทัศน์
(.)ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นอุทาหรณ์คำว่าอุทาหรณ์หมายถึง ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาอ้างให้เห็นสิ่งหรือเรื่องที่ยกขึ้นมาเทียบเคียงเป็นตัวอย่าง
สรุปได้ว่า จุลนิทัศน์ หรือการจัดแสดง หมายถึง สิ่งหรือเรื่องที่ยกมาแสดงเพียงเล็กน้อย
พอให้เห็นเป็นตัวอย่าง

คำว่า
“display” แปลว่า การจัดแสดง

สรุปได้ว่าการจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์ หมายถึง นิทรรศการ
ขนาดเล็กมากที่นำเสนอข้อมูล
วัตถุสิ่งของผลงานสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางส่วนพอเป็นตัวอย่าง
ในสถานที่ที่มีการตกแต่งไว้
อย่างสวยงามและเหมาะสมโดยเน้นเป็นพิเศษเพื่อเร้าใจให้ผู้ชม
เปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้


ความหมายของนิทรรศการ
นิทรรศการ เป็นการรวบรวมสิ่งของและวัสดุเป็นชุด ๆ เพื่อขมวดความคิดตา
วัตถุประสงค์ทางการศึกษาหากเป็นกิจกรรมด้านการค้าการจัดนิทรรศการเป็นการแสดง
ผลงานสินค้า ผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมให้คนทั่วไปชม
สรุปได้ว่า นิทรรศการ หมายถึงการจัดแสดงข้อมูลเนื้อหาผลงานต่าง ๆ ด้วยวัสดุ สิ่งของ อุปกรณ์และกิจกรรมที่หลากหลายแต่มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่องโดยมีจุดมุ่งหมายที่
ชัดเจน มีการวางแผนและออกแบบที่เร้าความสนใจให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการดูการฟัง
การสังเกต การจับต้องและการทดลองด้วยสื่อที่หลากหลาย


ประวัติของการจัดแสดง



ส่วนสำคัญของประวัติการจัดแสดงที่ควรกล่าวถึงได้แก่ ที่มาของความคิด
ในการจัดแสดงและการจัดแสดงเพื่อการศึกษาในประเทศไทย
1. ที่มาของความคิดในการจัดแสดง
ยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์เริ่มรู้จักออกแบบตกแต่งที่อยู่อาศัยภายในถ้ำ
รู้จักแบ่งพื้นที่ใ
นการใช้สอยอย่างหยาบ ๆ คร่าว ๆ
2. การจัดแสดงเพื่อการศึกษาในประเทศไทย
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยพบว่าสมัยกรุงสุโขทัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรง
คิดประดิษฐ์อักษรไทยไว้บนหลักศิลาจารึกซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมบรรจุตัวอักษรไว้ทั้ง
4 ด้านพระราชวรมุนี


ประวัติของนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษยชาติ แต่ในยุคแรกเริ่ม
อาจจะยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนแน่นอน ในยุคก่อนประวัติศาสตร์คงไม่มีชื่อเรียกว่า
นิทรรศการ หรือ
exhibition, fair, expo แต่อย่างใด อาจเป็นเพียงการจัดวางสิ่งของ
เครื่องใช้ไว้ในที่ที่เคยวางเป็นประจำ การวาดภาพตามผนังถ้ำเพื่อถ่ายทอดความเชื่อ การนำสินค้ามาจัดแสดงเพื่อการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย ดังนั้นการนำเสนอประวัติของนิทรรศการจึงประกอบด้วยรายละเอียดตั้งแต่จุดเริ่มต้นของ
การจัดนิทรรศการจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งภาพแสดงประวัติของนิทรรศการ ดังต่อไปนี้


1. จุดเริ่มต้นของการจัดนิทรรศการ


2. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในยุคโบราณ


3. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในยุคกลางและยุคหลัง


4. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศอังกฤษ


5. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศรัสเซีย


6. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศเยอรมันการจัดเทศกาลแสดงสินค้า
ทางการเกษตรในประเทศอเมริกา


7. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าสมัยใหม่


8. การจัดนิทรรศการในประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า นิทรรศการ
ในประเทศไทยโดยเฉพาะทางด้านการศึกษา เริ่มจัดขึ้นในวัดและในวัง


9. ภาพแสดงประวัติของนิทรรศการ


ความสำคัญของนิทรรศการ


นิทรรศการเป็นสื่อที่มีคุณค่าและมีศักยภาพสูงในการดึงดูดความสนใจของผู้ชม
ได้ดี
เนื่องจากความหลากหลายของสื่อสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่าง
บุคคลของผู้ชมได้
กล่าวถึงความสำคัญของนิทรรศการไว้ว่าเป็นวิธีการอันทรงประสิทธิ
ิภาพ
ในการกระตุ้นให้ผู้คนสนใจในวัตถุและแนวความคิดอ่านเป็นวิธีที่มักเข้าถึง
ประชาชนได้เมื่อวิธีการอย่างอื่นไม่สามารถทำได้ทั้งนี้เพราะเสน่ห์อันเกิดจาก
ผลงานการรวบรวมสรรพสิ่งทั้งหลาย
การคัดเลือกและการจัดแสดงที่ดีเป็นแม
่เหล็กอันใหญ่ที่ดึงดูดให้คนเหล่านั้นเข้ามาหาได้อย่างง่ายดาย”






วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งผู้จัดอาจมีวัตถุประสงค์เฉพาะแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปการจัดนิทรรศการทุกประเภทมีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันดังนี้


1. เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ไปยังผู้ชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ชมทั่วไปด้วยการจัดแสดงสื่อหลาย ๆ ชนิด


2. เพื่อสร้างความประทับใจ ให้ผู้ชมเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ในบทบาทและหน้าที่ขององค์กรหรือหน่วยงานที่จัดแสดงนิทรรศการ


3. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนแปลงทัศนคติไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร และให้ความร่วมมือในการดำเนินงานในโอกาสต่อไป


4. เพื่อการประชาสัมพันธ์หรือสร้างภาพพจน์ที่ดีของบุคลากร องค์กร หรือหน่วยงาน โดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่ชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย


5. เพื่อสร้างความบันเทิง ให้ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้กับสื่อต่าง ๆ ด้วยความเพลิดเพลิน บางกิจกรรมอาจได้ลงมือสัมผัสและทดลองด้วยตัวเอง


6. เพื่อเป็นการประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานโดยรวมของหน่วยงานหรือ องค์กรที่เป็นเจ้าของนิทรรศการแต่ละครั้ง


คุณค่าของนิทรรศการ


นิทรรศการเป็นสื่อที่มีคุณค่าหลายประการดังนี้


1.เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ความคิดและข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจาย
จากหลายที่มารวมเข้าด้วยกันอย่างมีระบบและสวยงามเพื่อจัดแสดงและนำเสนอใน
เวลาเดียวกัน ทำให้ผู้ชมสะดวกและประหยัดเวลา


2. เป็นแหล่งถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้โดยอาศัยสื่อต่าง ๆ
ทั้งสื่อรูปภาพ
แสง เสียง ภาพวิดีทัศน์ หุ่นจำลอง ของจริง เกม การแสดง เป็นต้น ซึ่งทำ
ให้เข้าใจง่ายขึ้น


3.เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพโดยเปิดโอกาสให้ผู้ชม
มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ผู้ชมได้รับความรู้และความเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน
ซึ่งจะนำไปสู่การค้นหาความรู้จากแหล่งอื่น ๆ ต่อไป


4.การใช้สื่อหลายชนิดในการจัดแสดงนิทรรศการจะช่วยตอบสนองความ
แตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ชมแต่ละคนมีความถนัดในการรับรู้และ
เรียนรู้ต่างกัน


5.เป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะการร่วมมือกัน
ระหว่างหน่วยงานต่างๆนับตั้งแต่ขั้นการเสนอความคิดการวางแผนการดำเนินงานหรือปฏิบัติหน้า
ที่ตามที่ได้รับมอบหมาย การสรุปและประเมินผล


คุณสมบัติของผู้จัดนิทรรศการ
จากการประมวลข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้จัดนิทรรศการ
รวมกับประสบการณ์ในการจัดนิทรรศการพอสรุปได้ว่าคุณสมบัติที่สำคัญของผู้
จัดนิทรรศการ ควรมีดังนี้


1.มีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาหรือการทำความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์
ความแตกต่างระหว่างบุคคลการรับรู้การเรียนรู้ความต้องการความถนัดและความสนใจของบุคคล
ในวัยต่าง ๆ
และรู้วิธีการตอบสนองอย่างมีหลักเกณฑ์


2.มีประสบการณ์และความรู้ความสามารถในวิทยาการแขนงต่างๆเช่น
ศิลปะสถาปัตยกรรม งานช่าง งานออกแบบและผลิตสื่อตามวัตถุประสงค์ของนิทรรศการ
เช่น การศึกษา การค้า และเป็นผู้ที่ช่างสังเกต มีความรู้รอบตัว ศึกษาค้นคว้าหาสิ่งใหม่ ๆ
ทันสมัยอยู่เสมอ


3.มีความคิดสร้างสรรค์รู้จักดัดแปลงและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้เหมาะสม
กับเวลาและสถานการณ์ มีความแปลกใหม่น่าสนใจ


4. มีแผนงานและการทำงานอย่างเป็นระบบ มีความรับผิดชอบ ใจกว้าง รับฟังความ


5. มีแรงจูงใจ มีความมุมานะ มีความสุขที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ


ประเภทของนิทรรศการ


นิทรรศการที่เห็นอยู่ทั่วไปมีหลายประเภทแต่ละประเภทมีรูปแบบและกิจกรรมแตก
ต่างกัน
ดังนั้นการจำแนกประเภทของนิทรรศการจึงขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ เช่น

1. จำแนกตามขนาดของนิทรรศการ ได้แก่
1.1 การจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์
มีแผนงาน ทำงานอย่างเป็นระบบ มีความรับผิดชอบทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
และมีแรงจูงใจที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ
นิทรรศการมีหลายประเภท สามารถจำแนกได้ตามขนาด วัตถุประสงค์
ระยะเวลาและสถานที่ที่ใช้ในการจัด


3.1 นิทรรศการทั่วไป


3.2 มหกรรม


2. จำแนกตามวัตถุประสงค์ในการจัด ได้แก่


2.1 นิทรรศการเพื่อการศึกษา


2.2 นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์


2.3 นิทรรศการเพื่อการค้า


3. จำแนกตามระยะเวลาในการจัด ได้แก่


3.1 นิทรรศการถาวร


3.2 นิทรรศการชั่วคราว


3.3 นิทรรศการเคลื่อนที่


4. จำแนกตามสถานที่ที่ใช้ในการจัด ได้แก่


4.1 นิทรรศการในอาคาร


4.2 นิทรรศการกลางแจ้ง


4.3 นิทรรศการกึ่งในอาคารกึ่งกลางแจ้ง


ส่วนรูปแบบและกิจกรรมของนิทรรศการแต่ละประเภท จะนำเสนอรายละเอียดในบทต่อไป







ไม่มีความคิดเห็น: