วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

บทที่ 3 หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ


บทที่ 3
หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ
ในการจัดนิทรรศการมีหลักการสำคัญที่ควรคำนึงถึงได้แก่ หลักจิตวิทยา
ในการจัดนิทรรศการและหลักการออกแบบนิทรรศการ
ในบทนี้จะกล่าวถึงหลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ ส่วนหลักกา
รออกแบบนิทรรศการจะกล่าวในบทต่อไป


การรับรู้
การรับรู้คือการสัมผัสที่มีความหมายการรับรู้เป็นกระบวนการ
หรือตีความแห่งการสัมผัส
ที่ได้รับออกเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมาย
คนเราจะต้องใช้ความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่มี
มาก่อน โดยปกติเรา
รับรู้โดยผ่านระบบรับสัมผัส ซึ่งได้แก่ ระบบรีเซ็บเตอร์ใน ตา หู จมูก
ลิ้น ผิวหนังและกล้ามเนื้อ ดังนั้นในการจัดนิทรรศการ ผู้จัดควรคำนึงถึง
องค์ประกอบหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ดังนี้


1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้แบ่งออกเป็นปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายนอก
(external attention factor)
กับปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายในหรือปัจจัย
ด้านจิตวิทยา
(psychological factor)


1.1 ปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายนอก


1.2 ปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายใน


2. การรับรู้นิทรรศการตามแนวทฤษฎีจิตวิทยา
2.1
หลักของความใกล้ชิด
หลักของความใกล้ชิด หมายถึง สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กันทำให้เรามีแนวโน้มที่
ี่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่อยู่ห่างกัน
ทฤษฎีทางจิตวิทยาการรับรู้
ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดนิทรรศการได้ ได้แก่ ทฤษฎีของกลุ่มเกสตอลท์
(Gestalt Theory) ซึ่งมีแนวคิดว่าองค์ประกอบสำคัญของภาพหรือสิ่งเร้าที่เรา
รับรู้โดยทั่วไปมี
2ส่วนคือภาพและพื้นดังนั้นการรวมกันของภาพและพื้นจึง
ถือเป็นกฎสำคัญของการจัดสิ่งเร้าเพื่อการกระตุ้นความสนใจซึ่งมี
หลัก
4 ประการได้แก่ หลักของความใกล้ชิด (principle of proximity)
หลักของความคล้ายคลึง
(similarity) หลักของความต่อเนื่อง
(principle of continuity) และหลักของความประสาน (principle of closure)



2.2
หลักของความคล้ายคลึง
หลักของความคล้ายคลึงหมายถึงสิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทำ
ให้การรับรู้มีแนวโน้มที่จะเป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่แตกต่างกัน


แม้ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ใกล้กันหรือไกลกันก็ตาม


2.3 หลักของความต่อเนื่อง
หลักของความต่อเนื่อง หมายถึง สิ่งเร้าที่ปรากฏให้เห็นอย่างซ้ำ ๆ เ
หมือนกันไปในทิศทางเดียวกันอย่างต่อเนื่องจะมีแนวโน้มเป็นพวกเดียวกัน
มากกว่าที่จะแยกกันคนละทิศทาง


2.4 หลักของความประสาน
หลักของความประสานเป็นการต่อเติมสิ่งเร้าที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์
(closure)
สิ่งที่ผิดปกติหรือส่วนของรูปภาพหรือของวัตถุที่หายไปจะกระตุ้น
การรับรู้ได้ดี ความไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความสงสัยทำให้เราสนใจและคาด
เดาด้วยการเติมเต็มส่วนที่บกพร่องให้สมบูรณ์


การเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อันเป็นผลจาก
การฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่่
เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
การจัดนิทรรศการเป็นสื่อกิจกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ของผู้ชมได้ดีเนื่องจากการใช้สื่อหลายชนิดและวิธีการนำเสนอที่หลากหลาย
ทำให้สามารถตอบสนองการเรียนรู้ได้หลายด้านการเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการ
มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้แตกต่างจากการเรียนรู้ในห้องเรียนทั่วไป
ผู้ชมได้รับ
ความรู้ควบคู่กับความบันเทิงทั้งยังสามารถเลือกชมสื่อหรือเนื้อหาได้ตามอัธยาศัย
ตามความสนใจ และจะใช้เวลาในการชมหรือเรียนรู้ได้ตามความต้องการ

นักจิตวิทยาหลายท่านได้ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องแล
ะได้ข้อสรุปเป็นแนวคิดและทฤษฎีซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็น
แนวทางให้เกิดประโยชน์ในการจัดนิทรรศการได้ดังนี้


1. ประเภทของการเรียนรู้


2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้ชมในการชมนิทรรศการ


จิตวิทยาพัฒนาการ


นักจิตวิทยาหลายท่านได้ศึกษาถึงพัฒนาการของมนุษย์วัยต่าง ๆ ตั้งแต่ปฏิสนธิ
ิจนถึงวัยชรา
ทำให้เรารู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์แต่ละวัยว่ามีความสนใจและ
ความต้องการแตกต่างกันอย่างไร
วัยหรืออายุของผู้ชมมีความเกี่ยวข้อง
กับวุฒิภาวะ ความพร้อม การรับรู้ การเรียนรู้ ความต้องการ
ความสนใจและประสบการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อผล
สัมฤทธิ์ในการชมนิทรรศการ ดังนั้นในการจัดนิทรรศการจึง
ควรคำนึงถึงวัยของผู้ชมดังนี้


1. วัยเด็กตอนต้น


2. วัยเด็กตอนกลาง


3. วัยรุ่น


4. วัยผู้ใหญ่



ไม่มีความคิดเห็น: